วิตามินบำรุงสายตา อาหารเสริมบำรุงสายตา แอล ซี วิต 3 เอกซ์ กิฟฟารีน LZvit3X Giffarine





ลูทีน และ ซีแซนทีน  สุดยอดสารอาหารดูแลดวงตาระดับเทพ

LZ vit 3X
✅สารอาหารดูแลดวงตาระดับพรีเมี่ยม
✅ลูทีนมากถึง 10 มก.
✅เข้มข้นกว่าเดิมถึง 3 เท่า

✅เพิ่มประสิทธิภาพการดูแลดวงตาให้ดียิ่งขึ้นด้วย "แอสตาแซนทิน" และสารสกัดจากบิลเบอร์รี่ผสานวิตามินเอ ที่มีส่วนช่วยในการคงสภาพปกติของการมองเห็นและวิตามินอีที่ช่วยต้านอนุมูลอิสระ

ลูทีนและซีแซนทีน กับโรคจอประสาทตาเสื่อมจากงานวิจัยพบว่า 
ลูทีน และ ซีแซนทีน ทำหน้าที่ข่วยกรองแสงสีฟ้าที่ทำให้เกิดอนุมูลอิสระในเซลล์จอประสาทตาซึ่งเป็นสาเหตุของจอประสาทตาเสื่อม 
☺ การรับประทานลูทีนที่ 10 มก. และซีแซนทีน ที่ 2 มก. ต่อวัน ช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคจอประสาทตาเสื่อมได้ 

เทคโนโลยีมีความก้าวหน้ามาขึ้นทุกวัน เราต้องดูแลดวงตาให้มากขึ้นเช่นกัน และจะดีกว่าแน่นอนถ้าเรามีตัวช่วยเจ๋ง ๆ ป้องกันดวงตาอย่าง แอล ซี วิต 3 เอกซ์ กิฟฟารีน
ซี วิต 3 เอกซ์ กิฟฟารีน
สารอาหารดูแลดวงตาระดับพรีเมี่ยม ประกอบด้วย ลูทีนมากถึง 10 มก. เข้มข้นกว่าเดิมถึง 3 เท่า เพิ่มประสิทธิภาพการดูแลดวงตาให้ดียิ่งขึ้นด้วยแอสตาแซนธิน และสารสกัดจากบิลเบอร์รี่ ผสานวิตามินเอ ที่มีส่วนช่วยในการคงสภาพปกติของการมองเห็น และวิตามินอี ที่ช่วยต้านอนุมูลอิสระ
ลูทีน ซีแซนทีน มีงานวิจัยว่า
  • ช่วยกรองแสงสีฟ้าจากอุปกรณ์อิเล็คทรอนิกส์ต่างๆ ช่วยปกป้องเซลล์จอประสาทตาจากอนุมูลอิสระและแสงสีฟ้า
  • ลดความเสี่ยงและป้องกันการเกิดโรคต้อกระจก และโรคจอประสาทตาเสื่อมได้
แอสตาแซนธิน มีงานวิจัยว่า
  • ช่วยต้านอนุมูลอิสระ
  • ช่วยทำให้มองภาพได้ชัดขึ้น ด้วยกลไกการปรับโฟกัสของเลนส์ตา
  • ช่วยลดความเมื่อยล้าของดวงตาจากการใช้งานคอมพิวเตอร์หรือโทรศัพท์มือถือ
  • ช่วยเพิ่มการไหลเวียนเลือดไปยังดวงตา ทำให้ดวงตามีสุขภาพที่ดีขึ้น
สารสกัดจากบิลเบอร์รี่ มีงานวิจัยว่า
  • ช่วยชะลอการขุ่นมัวของเลนส์ตา
  • ช่วยเพิ่มความแข็งแรงของเส้นเลือดฝอยที่ไปเลี้ยงดวงตา
  • ช่วยเพิ่มการปรับตัวในการมองเห็นในที่มืด
4 พฤติกรรม ทำร้ายดวงตา
  • ใช้คอมพิวเตอร์หรือโทรศัพท์มือถือมากเกินไป
  • ไม่สวมแว่นตากันแดด ดวงตาถูกแสง UV ทำร้าย
  • พักผ่อนไม่เพียงพอ ตาล้า มองเห็นภาพไม่ชัด
  • รับประทานอาหารที่ไม่มีประโยชน์ ขาดสารอาหารดูแลสายตา 

หยุดพฤติกรรมทำร้ายดวงตา 

  • พักสายตาจากการใช้คอมพิวเตอร์และโทรศัพท์มือถือ
  • สวมแว่นกันแดด เพื่อไม่ให้ดวงตาเผชิญแสงแดดโดยตรง
  • พักผ่อนให้เพียงพอ เพื่อลดอาการล้าข้องสายตา ช่วยให้มองเห็นชัดขึ้น
  • รับประทานอาหาร หรือสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อดวงตา 
5 สารอาหาร ดูแลสายตาระดับเทพ
  1. ลูทีน ซีแซนทีน
  2. แอสตาแซนธีน
  3. สารสกัดจากบิลเบอร์รี่ 
  4. วิตามินเอ
  5. วิตามินอี

1. ลูทีน ซีแซนธีน แคโรทีนอยด์ที่พบที่จะดรับภาพของตา

  • ปกป้องเซลล์จอประสาทตา
  • ช่วยกรองแสงสีฟ้า
  • ลดการเกิดโรคต้อกระจก และจอประสาทตาเสื่อม
  • ช่วยให้มองเห็นภาพได้ชัดขึ้น
2. แอสตาแซนธีน สารสกัดจากสาหร่ายสีแดงสายพันธ์ Haematococcus Pluvialis
  • ทำให้มองเห็นภาพชัด
  • ลดความเมื่อยล้าของดวงตา 
  • เพิ่มการไหลเวียนเลือดไปยังดวงตา 
3. สารสกัดจากบิลเบอร์รี่ มีแอนโทไซยานิน (Anthocyanin)
  • ช่วยให้จอตาเป็นปกติ
  • ชะลอการขุนมัวของเลนส์ตา
  • ทำให้เส้นเลือดฝอยที่ไปเลี้ยงดวงตาแข็งแรง
  • ช่วยการมองเห็นในที่มืด
  • ลดอาการล้างของดวงตา 
4. วิตามินเอ
  • คงสภาพปกติของการมองเห็น
  • คงสภาพปกติของเยื่อบุต่าง ๆ 
  • ช่วยในการมองเห็นในที่มืด
5. วิตามินอี 
  • ช่วยต้านอนุมูลอิสระ
  • ช่วยในการพัฒนาของเซลล์ประสาท 

ในยุคที่เต็มไปด้วยเทคโนโลยี ที่ไม่ว่าจะหันไปทางไหนก็เจอแต่คนจ้องจออยู่ตลอดเวลา แต่เราเคยรู้มั้ยว่า เวลาเราเล่นโทรศัพท์มือถือ หรือใช้คอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน ๆ นั้น มีแสงสีฟ้ากำลังเข้าไปทำลายดวงตาเราอยู่วันนี้เรามีตัวช่วยดี ๆ มาบอกค่ะ 
▬▬▬▬▬▬▬▬
Q: ตอนนี้ผมมีอาชีพเป็นช่างภาพ และนักตัดต่อวีดีโอ อุปกรณ์ที่ใช้ในการทำงานก็จะเป็นกล้องถ่ายรูปละคอมพิวเตอร์ซึ่งมักจะใช้สายตามากกว่า 12 ชั่วโมงต่อวัน บางวันแทบไม่ได้นอนเลยก็มี ผมจึงอยากเริ่มต้นดูแลดวงตา พอจะมีคำแนะนำบ้างมั้ยครับ 
A: แสงสีฟ้าอุปกรณ์อิเล็กทรอนิคส์ต่าง ๆ เป็นคลื่นพลังงานสูง หากเราจ้องมองเป็นเวลานานจะเพิ่มความเสี่ยงการเกิดโรคจอประสาทตาเสื่อม โดยโรคนี้มักจะพบในผู้สูงอายุซึ่งมีสาเหตุมาจากเซลล์ประสาทตาเสื่อมถอยตามอายุ แต่ในปัจจะบันคนอายุน้อยก็สามารถเป็นโรคนี้ได้เช่นกันค่ะ ดังนั้น ดูแลดวงตาจากอาหารหลักเพียงอย่างเดียวคงไม่พอ จึงขอแนะนำผลิตภัณธฑ์เสริมอาหารที่มีส่วนประกอบของ ลูทีน ซีแซนทีน เป็นต้น ทางเลือกที่ดีในการดูแลดวงตานั่นเอง
▬▬▬▬▬▬▬▬
ส่วนประกอบที่สำคัญใน 1 แคปซูล:
  • ลูทีน  5%    200 มก. (ให้ลูทีน 10 มก.)
  • แอสตาแซนธิน 2.5%จากฮีมาโตคอกคัส พลูวิเอลิสสกัด     80 มก.(ให้แอสตาแซนธิน 2 มก.)       
  • ซีแซนทีน  5%   63 มก. (ให้ซีแซนทีน 3.15 มก.)
  • สารสกัดจากบิลเบอร์รี่     10 มก.                     

  • ดีแอล-แอลฟา-โทโคเฟอริล แอซีเทต (50%)   6 มก. (ให้วิตามินอี 3 หน่วยสากล)
  • วิตามิน เอ แอซีเทต    4.098 มก. (ให้วิตามิน เอ 1332 หน่วยสากล)
วิธีใช้ :
รับประทานวันละ 1 แคปซูลหลังอาหาร
ปริมาณสุทธิ : 30 แคปซูล
▃▃▃▃▃▃▃▃



















เรื่องน่ารู้ของสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อดวงตา

ดวงตาทาหน้าที่เป็นอวัยวะรับความรู้สึกด้านการมองเห็น ถ้าเรานอนวันละ 6 ชั่วโมงนั่นคือเราใช้ดวงตาวันละ 18 ชั่วโมง เดือนละ 540 ชั่วโมง ปีละ 6480 ชั่วโมง 

โดยเฉพาะในปัจจุบัน เราใช้สมาร์ทโฟน แท็บเล็ต หรือคอมพิวเตอร์ ต่อเนื่องกันเป็นเวลานาน อ่านหนังสือหรือใช้สายตาในที่แสงน้อย หรือ สัมผัสแสงอาทิตย์และแสงยูวีปริมาณมาก 

ดังนั้น อาการเสื่อมถอยของสุขภาพตาจึงหลีกเลี่ยงได้ยาก แต่สามารถชะลอได้ หากเรารู้วิธีการป้องกัน และรู้จักสารอาหารที่จะเข้าไปฟื้นฟูสภาพหรือบารุงเซลล์ต่างๆ ภายในดวงตา (อ้างอิง 1) ตัวอย่างของสารอาหารดังกล่าว ได้แก่

1. ลูทีน (Lutein) และซีแซนทีน (Zeaxanthin)
ลูทีน และซีแซนทีน เป็นสารประกอบที่จัดอยู่ในกลุ่มของแคโรทีนอยด์ ร่างกายมนุษย์ไม่สามารถสร้างสารประกอบทั้งสองนี้ได้ จาเป็นต้องได้รับจากอาหาร และเป็นแคโรทีนอยด์ 2 ชนิดเท่านั้นที่พบอยู่ที่จุดรับภาพของลูกตา (Macula) และที่เลนส์ของตา 

ทั้งคู่ทาหน้าที่ช่วยปกป้องเซลล์ของจอประสาทตาไม่ให้ถูกทาลายโดยการลดอนุมูลอิสระและกรองแสงสีน้าเงินที่จะทาลายดวงตา มีประโยชน์ในโรคที่เกี่ยวกับดวงตาที่สาคัญคือ โรคต้อกระจก (Age-related cataract, ARC) และโรคจอประสาทตาเสื่อม (Age-related macular degeneration, AMD) และยังอาจช่วยเพิ่มเรื่องการมองภาพให้เห็นชัดขึ้น (อ้างอิงที่ 2,3)

โรคต้อกระจก คือภาวะที่กระจกตา และเลนส์ตาขุ่น ทาให้แสงไม่สามารถผ่านเข้าไปในตาได้ ต้อกระจกไม่ใช่โรคติดต่อ ต้อกระจกจะค่อยๆขุ่นไปอย่างช้าๆ ใช้เวลาเป็นปีๆ และสามารถรักษาได้ด้วยการผ่าตัด กลไกของลูทีนและซีแซนทีน สามารถลด ป้องกัน หรือชะลอการเกิดต้อกระจกได้นั้น เป็นเพราะความสามารถในการช่วยกรองแสง UV และแสงสีฟ้า 

ต้านอนุมูลอิสระ และลดความเสียหายที่เกิดจากแสงที่ไปกระตุ้นการออกซิเดชั่นของโปรตีนหรือไขมันในเลนส์ตา (อ้างอิงที่ 3) การวิจัยที่ Harvard School of Public Health, Boston ในกลุ่มผู้ชาย 36,644 คน ที่ได้รับอาหารเสริมและวิตามินต่างๆ พบว่ากลุ่มที่ได้รับอาหารเสริมเป็น ลูทีน และซีแซนทีน จะลดความเสี่ยงของต้อกระจกถึง 19% (อ้างอิงที่ 4) 

และที่ University of Massachusetts ทาวิจัยในกลุ่มผู้หญิง 50,461 คน พบว่า ลูทีน และซีแซนทีน จะลดความเสี่ยงของต้อกระจกถึง 22% (อ้างอิงที่ 5) การวิจัยที่ University of Wisconsin Madison Medical School ในคน 1,354 คน พบว่าช่วยลดอุบัติการณ์ของต้อกระจกที่เกิดตรงกลางเลนส์ (Nuclear Cataracts) ได้ถึง 50% (อ้างอิงที่ 6) จากการวิจัยทั้งหมดนี้ 

จึงเป็นที่ยอมรับว่า ลูทีนและซีแซนทีน ลดอุบัติการณ์โรคต้อกระจกในผู้สูงอายุได้จริง
โรคจอประสาทตาเสื่อม จอประสาทตา (retina) เป็นส่วนที่อยู่บริเวณหลังสุดของตา เมื่อใช้สายตามองดูสิ่งของ แสงที่กระทบสิ่งของจะสะท้อนผ่านเข้ามายังจอประสาทตา 

จอประสาทตาจะเปลี่ยนแสงให้อยู่ในรูปของสัญญาณไฟฟ้าแล้วส่งผ่านเส้นประสาทตา (optic nerve) ไปยังสมอง ที่จอประสาทตานี้ จะมีบริเวณที่ไวที่สุดของจอประสาทตา เรียกชื่อว่า แมคูลา ลูเทีย (macula lutea) 

แมคูลานี้จะประกอบไปด้วยเซลล์รับแสงนับล้านๆเซลล์ที่ช่วยการมองภาพที่คมชัดตรงส่วนกลางของภาพ โรคจอประสาทตาเสื่อม เป็นโรคซึ่งเกิดที่บริเวณ แมคูลา ลูเทีย (macula lutea)

กล่าวคือจะมีการทาลายแมคูลาไปทีละน้อยจนเกิดจากการเสื่อมของจุดรับภาพ (Macular) ทาให้การมองเห็นภาพขาดความคมชัด เบลอ บิดเบี้ยว บางครั้งอาจรุนแรงจนเห็นจุดดามาบังภาพอยู่ตลอดเวลา

เมื่อแสงผ่านเข้าสู่ตา แสงจะผ่านกระจกตา (cornea) และ แก้วตา (lens) ทั้งนี้ กระจกตาจะสามารถกรองแสงอัลตร้าไวโอเล็ต (UV) บางส่วนไว้ได้ แสงส่วนใหญ่จะถูกส่งผ่านไปยัง จอประสาทตา (retina) และพบว่าในบรรดาคลื่นแสงที่เรามองเห็นได้นี้ คลื่นแสงสีฟ้าซึ่งมีพลังงานสูงจะมีผลเหนี่ยวนาให้เกิดการสร้างอนุมูลอิสระ (free radical) 

ในเซลล์ของจอประสาทตาได้สูงเป็น 100 เท่าของคลื่นแสงสีแดงซึ่งมีพลังงานต่า โดยที่จอประสาทตานี้ จะมีจุดโฟกัสที่เรียกว่า แมคูลา ลูเทีย (macula lutea) มีสารสี (macular pigment) ที่เป็นสีเหลืองซึ่งประกอบไปด้วย ลูทีน (lutein) และซีแซนทีน (zeaxanthin) เชื่อว่าสารประกอบทั้งสองนี้ทาหน้าที่เป็นสารต้านออกซิเดชันเพื่อป้องกันเซลล์รับแสง (photoreceptor cells) 

จากอันตรายของอนุมูลอิสระที่เซลล์สร้างขึ้นเนื่องมาจากมีปริมาณออกซิเจนสูง (oxygen tension) และจากการถูกแสง นอกจากนี้ยังเชื่อว่าสารประกอบทั้งสองนี้มีหน้าที่ในการกรองแสงสีฟ้าที่เป็นคลื่นแสงที่มีพลังงานสูง โดยประมาณว่าจะสามารถกรองแสงสีฟ้าลงได้ถึง 40 % ก่อนที่แสงจะตกถึงแมคูลา ดังนั้นจะสามารถลดสภาวะความเครียดออกซิเดชันต่อจอประสาทตาได้อย่างมีนัยสาคัญ (อ้างอิงที่ 2)

ในอดีต เมื่อปี 1994 มีการแนะนาการรับประทานลูทีน และซีแซนทีน ที่ 6 มิลลิกรัมต่อวัน แต่ล่าสุด ได้มีรายงานการศึกษาจากสถาบันดวงตาแห่งชาติในสหรัฐอเมริกา โดยทาการศึกษา Age-Related Eye Disease Study 2 หรือเรียกโดยย่อว่า AREDS2 โดยใช้ลูทีนที่ 10 มิลลิกรัม และ ซีแซนทีนที่ 2 มิลลิกรัมต่อวัน 

ต่อเนื่องกันยาวนานกว่า 5 ปี ในการศึกษาโรคที่เกี่ยวกับความเสื่อมของดวงตาเมื่ออายุมากขึ้น (อ้างอิงที่ 7,8) มีการศึกษาสนับสนุนว่า ถ้าปริมาณลูกทีนและซีแซนทีนในลูกตาลดน้อยลง จะพบความเสื่อมมากขึ้นในการเป็นโรคจุดรับภาพเสื่อม (อ้างอิงที่ 9) และความเสี่ยงในการเป็นโรคจุดรับภาพเสื่อมจะลดลง หากมีปริมาณลูทีนและซีแซนทีนในเลือดสูงขึ้น (อ้างอิงที่ 10,11)

2. แอสตาแซนธิน (Astaxanthin)
แอสตาแซนธิน เป็นสารแคโรทีนอยด์อีกชนิดหนึ่งที่ร่างกายสร้างขึ้นเองไม่ได้เช่นกัน ต้องได้จากการรับประทานเข้าไป ได้จากสาหร่ายสีแดงสายพันธ์ Haematococcus pluvialis มีคุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระ และพบว่า มีประโยชน์ต่อดวงตา โดยพบว่า ช่วยในเรื่อง ทาให้มองภาพได้ชัดขึ้น ด้วยกลไกช่วยการปรับโฟกัสของเลนส์ตา (Accomodation Function of Eye) (อ้างอิงที่ 12,13) 

ช่วยลดความเมื่อยล้าของดวงตา จากการใช้งานคอมพิวเตอร์ โดย มีงานวิจัยให้ผู้ที่ทางานกับจอคอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน จานวน 26 คน รับประทานแอสตาแซนธินวันละ 5 มก. เป็นเวลา 4 สัปดาห์ พบว่าอาการตาเมื่อยล้าดีขึ้น (อ้างอิงที่ 14) และพบว่า ช่วยเพิ่มการไหลเวียนเลือดไปยังดวงตาอีกด้วย ทาให้ดวงตามีสุขภาพที่ดี 

และช่วยลดอาการล้าของดวงตาได้ (อ้างอิงที่ 15) กล่าวได้ว่าแอสต้าแซนธิน คือสารอาหารที่เหมาะสาหรับผู้ที่ต้องใช้สายตามาก ทางานกับคอมพิวเตอร์ จ้องจอต่อเนื่องกันเป็นเวลานาน

3. วิตามิน เอ (Vitamin A) และวิตามินอี (Vitamin E)
วิตามินเอมีส่วนช่วยคงสภาพปกติของการมองเห็นวิตามินเอ และมีส่วนช่วยคงสภาพปกติของเยื่อบุต่างๆ ขณะที่วิตามินอีมีส่วนช่วยในกระบวนการต่อต้านอนุมูลอิสระ (อ้างอิงที่ 16)

4. สารสกัดจากบิลเบอร์รี่ (Bilberry Extract)
สารสกัดจากบิลเบอร์รี่มีสารสาคัญที่มีประโยชน์คือ แอนโธไซยานิน (Anthocyanin) มีคุณสมบัติช่วยต้านอนุมูลอิสระ มีประวัติการใช้มาอย่างยาวนานในด้านการบารุงดวงตา ช่วยให้จอตาเป็นปกติ ชะลอการขุ่นมัวของเลนส์ตา เพิ่มความแข็งแรงของเส้นเลือดฝอยที่ไปเลี้ยงดวงตา ช่วยเพิ่มการปรับตัวในการมองในที่มืด ช่วยลดอาการล้าของดวงตาได้ (อ้างอิงที่ 17, 18)

เอกสารอ้างอิง















▃▃▃▃▃▃▃

👉 เป็นสมาชิกอยู่แล้วรับราคาสมาชิก 
หรือ สมัครสมาชิกเพื่อรับส่วนลด 25%
 

0 Post a Comment